การจำแนกชนิดของคำสแลง





             คำสแลงแต่ละประเภท คือ คำสแลงแท้ คำสแลงเทียม และคำสแลงลักษณะประสม ดังที่กล่าวมานั้น แต่ละประเภทสามารถจำแนกออกเป็นชนิดย่อยๆ ตามหน้าที่ของคำ ได้ดังต่อไปนี้

     1. ชนิดของคำสแลงแท้ จำแนกตามหน้าที่ของคำและการปรากฏในตำแหน่งประโยค ดังนี้
         1.1  คำสแลงแท้ที่เป็นคำนาม เช่น  ซ้าว  ป๊อพ  เก๊กชง  ชิ้งฉ่อง  ตะแน็ว  มูเตรู
         1.2  คำสแลงแท้ที่เป็นคำสรรพนาม จากข้อมูลที่พบมีเพียง 1 คำ คือ  แม่ง
         1.3  คำสแลงแท้ที่เป็นคำกริยา เช่น  มิ่ว  ติงนัง  เหวอเข่อเว่อ  อิปเป๊ะอิบปิ๋ง
         1.4  คำสแลงแท้ที่เป็นคำวิเศษณ์ เช่น อึ๋ม  สะแด่ว  สะปุ้ยตุ่ย
         1.5  คำสแลงแท้ที่เป็นคำอุทาน จากข้อมูลที่พบมีเพียง 2 คำ คือ  แม่งเอ๊ย  แม่งโว้ย



     2. ชนิดของคำสแลงเทียม จำแนกตามหน้าที่ของคำและการปรากฏในตำแหน่งประโยค ดังนี้
        1.1  คำสแลงที่เป็นคำนาม  เช่น  แหนม  มาม่า ทูอินวัน  หัวเห็ด
        1.2  คำสแลงเทียมที่เป็นคำสรรพนาม  เช่น (อี) เห็ดสด  (อี) กระซู่
        1.3  คำสแลงเทียมที่เป็นคำกริยา  เช่น ตุ๋ย  ขอเบียร์  ลอยกระทง  หนีบโจ๊ะ
        1.4  คำสแลงเทียมที่เป็นคำวิเศษณ์  เช่น  ตู้ม  บูริน  สวิ้งกิ้ง  ประมานนั้น
        1.5  คำสแลงเทียมที่เป็นคำสันธาน จากข้อมูลที่พบมีเพียง 2 คำ คือ  แบบว่า  ประมานว่า
        1.6  คำสแลงเทียมที่เป็นคำอุทาน  มี 2 คำ คือ ให้ตายเถอะโรบิน  และ  อกอีแป้นแล่นลึกเข้าตึกแขน



    3. ชนิดของคำสแลงลักษณะประสม จำแนกหน้าที่ของคำและการปรากฏในตำแหน่งประโยค ดังนี้
        1.1 คำสแลงลักษณะประสมที่เป็นคำนาม  เช่น โบ  หยามโฮ  โม่ตาลา  สะมะนะแฮป
        1.2  คำสแลงลักษณะประสมคำสรรพนามและคำอุทาน จากข้อมูลที่พบมีเพียง 1 คำ คือ  อีแควด
        1.3  คำสแลงลักษณะประสมที่เป็นคำกริยา จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ มี 5 คำ คือ แด็ะ แชท บิวท์ เฟิร์ม  มีพาว
        1.4  คำสแลงลักษณะประสมที่เป็นคำวิเศษณ์  จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มี 6 คำ คือ ก็อบ  เจิด  แจ่ม  เซวส์  เซอร์  ล้ำ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น