คำสแลงยังให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพสังคม ในสังคมช่วงปี ๒๕๔๐ – ๒๕๔๕ มีดังต่อไปนี้
การศึกษาคำสแลงนอกจากจะให้ความรู้เชิงภาษาดังกล่าวข้างต้นแล้ว คำ สแลงยังให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพสังคม ความเจริญทางเทคโนโลยี และวัฒนธรรม ประเพณีในสังคมช่วงปี ๒๕๔๐ – ๒๕๔๕ ดังต่อไปนี้
๑) สภาพสังคม คำสแลงที่เกิดขึ้นในช่วงปี ๒๕๔๐ – ๒๕๔๕ ได้แสดงให้เห็นสภาพสังคมไทยในช่วงนั้นหลายประการเช่น
๑.๑) สังคมไทยเป็นสังคมเปิดมากขึ้น ยอมรับสิทธิส่วนบุคคลมาก ขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเพศ เห็นได้จากการสร้างคำสแลงใช้สื่อเฉพาะกลุ่มผู้มี พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ และการสร้างคำสแลงเพื่อหลีกเลี่ยงคำต้องห้ามเกี่ยว กับเพศมีมากขึ้น เช่น
ตะแน็ว ตุ๊ด ทีบี ทูอินวัน ทีพี น้องจุง น้อง ตุ้ม เสือไบ หยามโฮ กระดุ้ย เก็กชง ซองจู เด้อ สวิงเด้ง หนีบ โจ๊ะ แอ๊บ ซ้าว ชะนี เห็ดสด หน้าหม้อ หูดำ ชาวดอกไม้ ชาวสี ม่วง ได้หน้าลืมหลัง กระเทยความ ติงนัง บ๊วบ น้อง อึ๊บ กีฬาใน ร่ม เป็นต้น
๑.๒) สังคมกรุงเทพฯเป็นสังคมสมัยใหม่มากขึ้น ซึ่งเห็นได้จาก คำสแลงที่มีใช้เฉพาะกรุงเทพฯเท่านั้น เช่น หยามโฮ ผีมะขาม ผี ขนุน ป๊อพ เป็นต้น
๑.๓) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม คำสแลงบางคำเกิดขึ้นเพราะ เกิดเหตุการณ์ในสังคมช่วงนั้น เช่น ตุ๋ย สวิงกิ้ง โม่ตาลา น้อง ตุ้ม เป็นต้น
๑.๔) การติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศมีมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จาก อิทธิพลภาษาต่างประเทศที่นำมาสร้างคำสแลงลักษณะคำประสมระหว่างคำไทยกับคำ ต่างประเทศ หรือทับศัพท์ เช่น เพื่อนเทค เยเย่ มีพาว เป็นต้น
๒) ความเจริญทางเทคโนโลยี คำสแลงที่เกิดจากภาษาที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในสังคมยุคข้อมูลข่าวสารไร้ พรมแดน เช่น ดำดอทคอม แชท นางฟ้าออนไลน์ เป็นต้น ได้แสดงให้เห็น ถึงความเจริญทางเทคโนโลยีในช่วงเวลาที่ศึกษา
๓) การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมประเพณี คำสแลงบางคำทำให้เห็นความ เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมประเพณี เช่น สายเดี่ยวเคี้ยวหมาก หมายถึง ผู้หญิงที่มี อายุแต่แต่งตัวแบบวัยรุ่น คือ สวมเสื้อสายเดี่ยวที่เปิดเผยเนื้อหนัง การ แต่งกายเช่นนี้ไม่เหมาะสมกับผู้มีอายุ เมื่อผู้มีอายุแต่งกายเช่นนี้ก็จะ ถูกล้อเลียนด้วยคำสแลงว่า “สายเดี่ยวเคี้ยวหมาก”
คำสแลงที่เกิดขึ้นและใช้อยู่ในช่วงปี ๒๕๔๐ – ๒๕๔๕ ดังที่รวบรวม มาได้จากการศึกษาครั้งนี้นับเป็นปรากฎการณ์ทางภาษาที่สอดคล้องกับสภาพสังคม และวัฒนธรรมในเวลานั้น ในช่วงเวลาต่อไปสภาพสังคมและวัฒนธรรมก็จะเปลี่ยน แปลงไปอีกและคำสแลงก็จะเกิดขึ้นใหม่อีก จึงควรมีการศึกษารวบรวมปรากฏการณ์ ทางภาษาลักษณะนี้ไว้ เพื่อเป็นหลักฐานที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาภาษาและ พัฒนาการทางสังคม
ในปีช่วงระยะเวลานี้จะพบว่าเกิดคำสแลงใหม่หลายคำ อาทิ เด็กสก็ อย เด็กแว็นส์ ฯลฯ คำสแลงที่พบในที่ผู้เขียนศึกษาบางคำก็หายไป เช่น คำ ว่า นุย ตะแน็ว เป็นต้น และคำสแลงบางคำก็ยังคง อยู่ เช่น อึ๊บ กะเทยควาย ได้หน้าลืมหลัง เป็นต้น
คำสแลงที่เกิดขึ้นและใช้อยู่ในช่วงปี ๒๕๔๐ – ๒๕๔๕ ดังที่รวบรวม มาได้จากการศึกษาครั้งนี้นับเป็นปรากฎการณ์ทางภาษาที่สอดคล้องกับสภาพสังคม และวัฒนธรรมในเวลานั้น ในช่วงเวลาต่อไปสภาพสังคมและวัฒนธรรมก็จะเปลี่ยน แปลงไปอีกและคำสแลงก็จะเกิดขึ้นใหม่อีก จึงควรมีการศึกษารวบรวมปรากฏการณ์ ทางภาษาลักษณะนี้ไว้ เพื่อเป็นหลักฐานที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาภาษาและ พัฒนาการทางสังคม
ในปีช่วงระยะเวลานี้จะพบว่าเกิดคำสแลงใหม่หลายคำ อาทิ เด็กสก็ อย เด็กแว็นส์ ฯลฯ คำสแลงที่พบในที่ผู้เขียนศึกษาบางคำก็หายไป เช่น คำ ว่า นุย ตะแน็ว เป็นต้น และคำสแลงบางคำก็ยังคง อยู่ เช่น อึ๊บ กะเทยควาย ได้หน้าลืมหลัง เป็นต้น
คำสแลง(ภาค ๑) ที่ผู้เขียนรวบรวมในปี พ.ศ.๒๕๔๐ – ๒๕๔๕ ผู้เขียนรวบรวมได้ ทั้งหมด ๓๗๔ คำ และได้นำคำสแลงทุกคำมาวิเคราะห์ประเภท ชนิด การสร้างคำ และ ความหมายของคำสแลงไว้ในหนังสือเรื่อง “คำสแลง” ที่พิมพ์เป็นรูปเล่มและมอบ ให้ห้องสมุดต่าง ๆ ได้แก่ หอสมุดแห่งชาติ หอสมุดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ ศูนย์วิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หอสมุดกลางมหาวิทยาลัย ศิลปากร วังท่าพระ เป็นต้น หากท่านใดสนใจอ่านฉบับเต็มก็สามารถหาอ่านได้ ที่หอสมุดข้างต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น