คำสแลงสามารถจำแนกได้ 3 ประเภท คือ คำสแลงแท้ คำสแลงเทียม และ คำสแลงลักษณะประสม คำสแลงแต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกัน กล่าวคือ
1. คำสแลงแท้ หมายถึง คำสแลงที่ถูกกำหนดเสียงและความหมาย ขึ้นใหม่ อาจมีเค้าของเสียงและความหมายจากคำที่มีอยู่เดิมก็ได้ เช่น ซ้าว เป็นคำสแลงที่กำหนดเสียงใหม่โดยเปลี่ยนเสียง พยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์จากคำเดิม "สาว" ซึ่งมีเค้าของเสียงเดิมคือ หมายถึง ผู้ชายกะเทยที่มีพฤติกรรมแสดงว่าเป็นหญิงไม่ใช่ชาย ดังประโยค "สมศักดิ์เป็นซ้าวนะ"
2. คำสแลงเทียม หมายถึง คำสแลงที่นำคำซึ่งมีอยู่ในภาษามาใช้ใน ความหมายใหม่ อาจเป็นความหมายเชิงอุปมา หรือ ความหมายต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง หรือใช้ในหน้าที่ซึ่งกำหนดขึ้นใหม่ เช่น "แหนม" เป็นคำสแลงที่นำคำซึ่งมีอยู่ในภาษามาใช้ใน ความหมายเชิงอุปมาโดยนำลักษณะแหนมที่เป็นมัดเป็นเปลาtอ้วนกลมเป็นปล้อง ใช้ในเชิงความเปรียบลักษณะรูปร่างคนอ้วน เตี้ย ดังประโยค "ยายแหนมเดินมานั่นแล้ว"
3. คำสแลงลักษณะประสม หมายถึง คำสแลงที่ตัดพยางค์หรือประสมระหว่างคำสแลงแท้กับคำสแลงเทียม เช่น "ก๊ะ" เป็นคำสแลงที่ตัดจาก
คำเดิม กะเทย เปลี่ยน เสียงวรรณยุกต์เพื่อสื่อความหมายทางอารมณ์ ดังประโยค "โอ้ย! นังหนุ่มเป็นก๊ะเหมือนเรา"
ที่มา : http://www.gotoknow.org/posts/413955
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น